ลภัส พระเครื่อง
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน28/10/2013
เป็นสมาชิกเมื่อ 24/10/2013
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  131/52 ซ.รังสิต-นครนายก65 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 12130
โทร.  086-508-7619
Mail  trainsss@hotmail.com
Search      Go

Home / All Product List / พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุศรีสวัสดิ์

พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุศรีสวัสดิ์

รูปภาพประกอบทั้งหมด 6 รูป

พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุศรีสวัสดิ์

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  28/10/2013
แก้ไขล่าสุด  :  07/11/2013
ราคา  โทรสอบถาม 086-508-7619

พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุศรีสวัสดิ์
พระท่ากระดาน ตั้งชื่อตามนามวัดท่ากระดาน หรือวัดกลาง อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของเมืองท่ากระดาน เมืองเก่าแก่ริมแม่น้ำแควใหญ่ แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 3 วัดสำคัญนั้นมี วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง ปี พ.ศ.2495 ในการขุดค้นโบราณวัตถุครั้งใหญ่ ได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดท่ากระดาน ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงงามจัด ปิดทองมา แต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองท่ากระดานเก่า จึงเห็นเหมาะสมเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า พระท่ากระดาน

ผู้สร้างพระท่ากระดาน การสร้างพุทธประติมากรรมในยุคโบราณนั้น หาใช่เป็นงานของสงฆ์ดังเช่นทุกวันนี้ไม่ หากเป็นกรณีของพวกฆราวาสวิสัย พระสงฆ์ในครั้งกระโน้นเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิบัติสมณกิจโดยฝ่ายเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างพระเครื่องฯ ซึ่งจะต้องมีการประจุพลังอิทธิพุทธาคมด้วยแล้ว ก็จะต้องเป็นงานของพระเกจิอาจารย์ผู้เจริญวิทยาคม อันได้แก่ พระฤๅษีทั้งหลายนั้นเอง ความข้อนี้ย่อมเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปของบรรดานักโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระเครื่องฯ รุ่นเก่าๆ ที่บรรจุอยู่กรุโบราณต่างๆ นั้น ล้วนเป็นประดิษฐ์กรรมของพระฤๅษีในยุคโบราณทั้งสิ้น

จากหลักฐานมากมายทำให้เชื่อได้ว่า ผู้สร้างพระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” อันวิเศษนี้น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพระฤๅษีผู้เป็นใหญ่เป็นประธานแก่บรรดาพระฤๅษี ๑๑ ตน ที่มาประชุมร่วมกันสร้างพระผงสุพรรณ ฯลฯ และ พระกำแพงทุ่งเศษฐีนั้น ตามสารคดีแผ่นลานเงินลานทอง แต่การสร้างพระท่ากรดานเป็นกรณีของพระฤๅษีตาไฟตามลำพัง แต่ผู้เดียว ท่านผู้สร้างจึงได้แฝงฝั่งเอกลักษณ์ “ตาแดง” เข้าไว้เป็นพิเศษ แต่มีความเร้นลับยากที่จะมีโอกาสได้ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป

นิวาสถานของพระฤๅษีตาไฟ จากเรื่องราวในจารึกแผ่นลานเงินลานทองตอนที่กล่าวว่า พระฤๅษีผู้ใหญ่ตนหนึ่งในจำนวน ๔ ตนนั้นอยู่ใน สุพรรณ คงจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟเป็นแน่ ท่านคงจะจาริกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรีกับสุพรรณบุรี (ทางย่านอู่ทอง) คงจะมีอาศรมอยู่ในราวป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็มีศีลภาวานาอยู่ในถ้ำต่างๆ ดังเช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขตศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็น แหล่งกำเนิดที่สร้างพระท่ากระดาน ในระหว่างที่พระฤๅษีตาไฟได้สร้างพระท่ากระดาน ท่านคงจะพำนักอยู่ในถ้ำนี้เอง

พระท่ากระดานมีพุทธลักษณะ พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่น ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่" อันเป็นพุทธศิลปะสมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิดสนิมไขและสนิมแดงขึ้นคลุมอย่างหนาแน่น และส่วนใหญ่ลงรักปิดทองมา แต่เดิม ดังนั้น ข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษาพระท่ากระดานจึงต้องพิจารณาสภาพสนิมไขสนิมแดงและรักเก่าทองเก่า
โบราณเรียกขาน "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" ตามเอกลักษณ์พิเศษคือมีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วนตาแดง นั้นเนื่องจากเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว สนิมตะกั่วมีสีแดง ลักษณะหนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม เมื่อถูกสัมผัสจะยิ่งมันวาว บนสนิมแดงจะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้น เวลายาวนานทำให้สนิมแดงสีเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" หรือตารางบนเนื้อสนิมแดงและสนิมไข ซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการคือ "คราบปูนแคลเซียม" สำหรับพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า"พระชินสนิมแดง" ตัดกรอบเฉพาะองค์พระ พระเกศนั้นมักจะบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง พระพักตร์ก้มง้ำ เอียงพระศอเล็กน้อย พระโอษฐ์และพระปรางเปล่งแววยิ้มอีกเอกลักษณ์หนึ่งเครียดขรึมและเคร่ง ขลัง ดั่งสะกดให้ปืนไฟและดินปืนทั่งหลายเสื่อมสลายอิทธิภาพสิ้น “ มหิทธิฉัททนากร”... “พระศักรพุทธปฏิมาผู้ทรงพลังมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” ...นั่นคือ พระท่ากระดานกาญจนบุรี

พินิจโดยพุทธศิลปะโบราณคดี พระท่ากระดานประกอบด้วยแววพระพักตร์และลีลาพุทธลักษณะเครียดเคร่งและเยือกเย็น ดุจลักษณะของพระฤๅษีผู้สัมฤทธิ์เตโชสมาบัติ เป็นพระพุทธศิลปยุคอู่ทองอย่างชัดเจน เดิมทีเดียวชาวกาญจนบุรี เรียกนามพระเครื่องชนิดนี้ว่า “ พระเกศบิดตาแดง” ตามเอกลักษณ์ของพระที่ปรากฏ แต่บัดนี้นิยมเรียกว่า “ พระท่ากระดาน” ตามนามตำบลที่ขุดพบ คือ ณ. หมู่บ้าน ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

 เขียนความคิดเห็น
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :
Security Code :