ลภัส พระเครื่อง
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน28/10/2013
เป็นสมาชิกเมื่อ 24/10/2013
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  131/52 ซ.รังสิต-นครนายก65 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 12130
โทร.  086-508-7619
Mail  trainsss@hotmail.com
Search      Go

Home / All Product List / พระซุ้มกอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดทองแท่ง จ.ลพบุรี(พร้อมบัตรรับรอง)

พระซุ้มกอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดทองแท่ง จ.ลพบุรี(พร้อมบัตรรับรอง)

รูปภาพประกอบทั้งหมด 3 รูป

พระซุ้มกอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดทองแท่ง จ.ลพบุรี(พร้อมบัตรรับรอง)

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  28/10/2013
แก้ไขล่าสุด  :  07/11/2013
ราคา  โทรสอบถาม 086-508-7619

พระซุ้มกอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดทองแท่ง จ.ลพบุรี(พร้อมบัตรรับรอง)

ในบรรดาพระกรุต่างๆ ในเมืองลพบุรี ที่แตกกรุออกมาไม่ว่า จะเป็นพระกรุเก่าหรือพระกรุใหม่ แตกออกมานานแล้วหรือเพิ่งแตกก็ตามที มักจะเป็นพระที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษแทบทุกครั้งที่ผ่านมา ในอดีตนั้นเมืองลพบุรี เป็นเมืองหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองในเรื่องของศาสนาพุทธ เป็นเมืองที่มีพระเครื่องและพระบูชา ตลอดจนกระทั่งเหรียญพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้จังหวัดไหนๆ ของประเทศไทย พระกรุต่างๆ ทั้งหมดโดยมากจะเป็นพระที่มีพุทธคุณล้ำเลิศ มีคุณค่ามหาศาล และเป็นพระที่ปรารถนาของปวงชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ขอยกตัวอย่างที่คนทั่วไปอยากได้พอเป็นสังเขปดังนี้คือ

พระหูยาน , พระนาคปรกวัดปืน , พระนาคปรกวัดมหาธาตุ , พระซุ้มนครโกษา , พระหลวงพ่อพัด , พระหลวงพ่อจุก , พระหลวงพ่อหมอ , พระหลวงพ่อแขก , พระนารายณ์ทรงปืน , พระสามพี่น้อง , พระซุ้มกระรอกกระแต , พระหูยานคอพอก , พระร่วงกรุม่วงค่อม , พระร่วงคีบ พระอู่ทองกรุวัดกระเบาเลียง (โพธิ์เก้าต้น) , พระร่วงกรุสนามม้า , พระเดี่ยวดำ-แดง , พระกรุวัดปากน้ำ , พระกรุวัดโพธิ์ศรี , พระกรุวัดโคกโพธิ์กุญชร , พระกรุวัดใหญ่ , พระกรุวัดบันไดสามแสน (หูไห) , พระกรุวัดกำแพง , พระกรุโคกยายผิน , พระกรุวัดเชิงท่า , พระกรุวัดศรี , พระหูยานกรุวัดอินทรา , พระกรุวัดราชา , พระทั่วไปอาจกล่าวได้ไม่หมด เพราะผู้เขียนอาจจะไม่รู้จักทั่วถึง ก็ต้องอภัยผู้รู้ทั้งหลายที่รู้มากกว่าด้วย พระดังได้กล่าวข้างต้นนั้น ล้วน แต่เป็นพระที่ชาวต่างจังหวัดทั้งใกล้และไกลได้ยินเกียรติศักดิ์ที่เลื่องลือดังกระฉ่อนมาแล้วทุกยุคทุกสมัยไม่ว่า ข้าราชการทุกระดับชั้นที่ย้ายเข้ามาอยู่เมืองลพบุรี หรืออาจย้ายออกก็ตามที มักจะได้รับพระเป็นของขวัญ (แจกพระ) ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมมีความปิติและซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระมีคุณค่ามากกว่าเงินทองของขวัญอะไรก็สู้พระไม่ได้ บางครั้งพระช่วยให้เข้างานได้ พระช่วยให้ได้สองขั้น พระช่วยให้ ... อะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะ

ผู้ที่ได้รับพระนั้นอาจจะได้รับของแท้หรือของปลอมยังเป็นปัญหา เพราะบางทีผู้ให้กับผู้รับไม่เคยรู้เรื่องพระมาก่อนก็ไม่ขอรับรองว่า จะได้ของแท้หรือของปลอมกันแน่ เพราะที่ผมมิได้กล่าวก็มีอีกมากมายและที่ยังไม่รู้ก็มีอีกเยอะ ซึ่งเป็นพระที่นอกเหนือที่ได้กล่าวมาแล้วแทบทั้งสิ้น วันนี้ผู้เขียนก็ขอแนะนำให้ท่านที่เคารพรักของผมได้รู้จักกับพระกรุหนึ่ง ซึ่งเป็นพระที่ผู้สร้างมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระคุณของพระอาจารย์โดยไม่ได้มีพิธีกรรมปลุกเสกลงเลขยันต์เหมือนพระคณาจารย์ทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมและโด่งดังที่สุดสมัยหนึ่งนั่นคือหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยศิษย์เอกของพระคุณท่านทั้งสอง ได้จัดสร้างขึ้นตามตำรับตำราของพระอาจารย์ทุกอย่าง และนำไปบรรจุไว้ ณ บนยอดซุ้มเสมาหน้าพระอุโบสถวัดทองแท่งนิสยารามในภายหลัง และพระดังกล่าวนี้ก็ได้ให้คุณประโยชน์แก่วัดทองแท่งเป็นเอนกประการ คือ นำออกให้ประชาชนเช่า แล้วเอาปัจจัยมาก่อสร้างถาวรวัตถุได้หลายอย่าง เช่น กำแพงแก้ว และอื่นๆ พระกรุนี้ชาวลพบุรีนิยมเป็นอย่างยิ่ง และมีชาวต่างจังหวัดรู้ข่าวก็มีจดหมายมาถึงเจ้าอาวาสเพื่อจะขอเช่าก็ยังมี แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะพระดังกล่าวได้หมดไปเสียก่อน เพราะพระได้แตกรุมานาน พระจึงอยู่กับชาวบ้านใกล้เรือนเคียงกับวัดและบุคคลทั่วๆ ไป ลักษณะของพระมีความเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การเลี่ยมห้อยคอ และเป็นที่มีมงคลนาม และนามมงคลเสียอีก โดยมีชื่อเสียงเรียกขานเหมือนกับพระเมืองกำแพงเพชรเสียด้วยสิ เป็นพระที่มีคุณวิเศษในทางคงกระพันชาตรี และในทางแคล้วคลาด โดยจากประสบการณ์จากผู้ที่นำไปใช้ได้เกรุณาเล่าให้ฟังหลายครั้งหลายราย พระที่ว่านั้นไซร้ก็คือ พระซุ้มกอวัดทองแท่ง อันเป็นพระกรุหนึ่งที่ชาวลพบุรีมีความภูมิใจยิ่งในเนื้อหาสาระ สนิมกรุ และรูปพรรณสัณฐานต่างๆ กายวิภาคและองค์ประกอบแห่งศิลปะ มองดูมีความซึ้งในตัวเอง และเป็นสนิมแดงคล้ายกับพระวัดกรุวัดหนองมนนั้นเสียด้วย ความดีเด่นของพระกรุวัดทองแท่ง กับกรุวัดหนองมนนั้นเป็นพระที่มีความนิยมที่ใกล้เคียงกันมาก และจากการแตกกรุก็ไม่ห่างไกลกันเท่าไรนัก กับเป็นพระที่รู้อาจารย์ผู้สร้างด้วย จึงมั่นอกมั่นใจและเชื่อได้ว่า พระดังกล่าวเป็นพระแท้ พระดี และจะต้องมีคุณวิเศษยอดเยี่ยมอย่างไม่ต้องสงสัยจึงเป็นพระที่ดีกว่าพระที่ไม่ได้ปลุกเสกหรือเข้าพิธีอะไรเลยเป็นแน่แท้ ความดีของพระกรุวัดทองแท่ง และความดีของพระคณาจารย์ทุกองค์ในวัดทองแท่งนี้ได้ปกครองพระลูกวัดตลอดมานั้นเป็นอย่างไร ผู้เขียนก็ขอนำท่านมาพบกับประวัติเล็กๆ น้อยๆ ดังต่อไปนี้คือ

วัดทองแท่ง หรือ วัดทองแท่งนิสยารามตามที่สืบสวนประวัติความเป็นมาของวัดได้ความว่า เดิมชื่อวัดแท่งทอง ต่อมาสมัยพระอาจารย์สำเภาเป็นเจ้าอาวาสวัด จัดการบูรณะวัดแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดทองแท่งนิสยาราม" จนกระทั่งปัจจุบัน คงสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เป็นวัดที่ราษฎรได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้น ที่ตั้งของวัดตั้งอยู่ที่ ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านทิศใต้ หมู่ที่ 5 ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองลพบุรีประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหลายวัด เช่น วัดอัมพวัน , วัดกลาง , วัดโพธิ์ระหัต , วัดสิงห์ทอง ฯลฯ

วัดทองแท่งเป็นวัดสังกัดมหานิกาย มีอุโบสถ 1 หลัง สันนิษฐานว่า ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำเนียบเจ้าอาวาสที่สืบได้มีดังนี้

หลวงพ่อเณร
หลวงพ่อชื่น
พระครูศิลวรคุณ (ผึ้ง)
พระอาจารย์มั่น
พระอาจารย์สงวน
พระอาจารย์หลง
พระอาจารย์ฤกษ์
พระอาจารย์ฟู (ครั้งที่ 1)
พระอาจารย์ก้อน
พระอาจารย์ฟู (ครั้งที่ 2)
พระอาจารย์อ่อน
พระอาจารย์มาก
พระอาจารย์จันทร์
พระอาจารย์เภา
พระอาจารย์ตุ๊ย
พระอาจารย์ชื่น
พระปลัดเล็ก
พระครูสมศักดิ์ นิลวณฺโณ
เจ้าอาวาสต่างๆ ดังกล่าวได้ดูแลปกครองพระลูกวัด (ภิกษุ-สามเณร) สืบกับ มาหลายองค์ บางองค์บางรูปปกครองอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน บางรูปก็ปกครองในระยะเวลาอันสั้น มีหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวัดอย่างหนาแน่น โดยมีแม่น้ำลพบุรีนี้ ต้นกำเนิดแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงใต้วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (วัดท่าควาย) สิงห์บุรี แม่น้ำลพบุรีเปรียบเสมือนหนึ่งสายโลหิตที่สำคัญยิ่งของชาวลพบุรีก็ว่า ได้ประชาชนชาวลพบุรีหลายเชื้อสายทั้งไทย จีน ชาวมอญ ได้ใช้น้ำสายนี้ทำการกสิกรรมเกษตรกรรม ใช้ดื่ม อาบ และใช้สัญจรไปมาหาสู่กันในอดีตตามลำน้ำมาโดยตลอด

ถึงเวลาวันประเพณีต่างๆ เช่น วันมหาสงกรานต์ วันตรุษ และวันไหว้พระประจำปี วันแห่รูปหลวงพ่อกรัก พระอาจารย์ดังแห่งวัดอัมพวัน จะมีชาวไทยรามัญ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้น นำรปูหล่อของหลวงพ่อออกแห่แหนไปตามลำน้ำลพบุรี ถือว่า เป็นประเพณี ระหว่างเดือน 12 ของทุกปี โดยแห่ไปถึงเขตอำเภอท่าวุ้งเป็นประจำ ชาวไทยและชาวมอญ ซึ่งตั้งบ้านเรือนกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งตำบลบางขันหมากจะทำบุญตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีวัฒนธรรมอันดีดังกล่าวข้างต้น

การสัญจรไปมาหาสู่กันสมัยก่อนนั้นยังไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบัน จะต้องอาศัยแม่น้ำเป็นหลักสำคัญ โดยใช้เรือพาย เรือยนต์ เรือจ้าง ถ้าเดินทางด้วยเท้าโดยมากจะใช้ม้าเกวียน และใช้ช้างเป็นพาหนะ สมัยก่อนนั้นความเจริญต่างๆ ไม่มี ถนนหนทางรถราต่างๆ มีน้อยมาก ความลำบากจึงมีมากกว่า ถ้าจะเปรียบในอดีตที่ผ่านมากับปัจจุบัน ก็เหมือน "ฟ้ากับดิน"

ในโอกาสนี้ขอแนะนำท่านที่เคารพให้รู้จักกับวัดแท่งทองเพียงวัดเดียวเท่านั้น ตามการสันนิษฐานว่าวัดนี้อาจจะสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ อาจจะถูกและอาจจะผิดได้ เพราะเป็นการลงความเห็นในการคาดคะ เนไว้ก่อนจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในบริเวณวัดน่าจะเชื่อได้ว่าวัดนี้อาจจะสร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะว่า มีสิ่งที่น่าคิดคือ พระอุโบสถของวัดเปิดได้ด้านเดียว (เรียกว่าโบสถ์มหาอุด) พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระหินทรายสร้างในสมัย - อยุธยาแน่ สิ่งดังกล่าวนี้น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง จะอย่างไรก็ตามไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรื่องนี้ สิ่งอื่นๆ สำคัญกว่า เช่น พระประธานในโบสถ์นั้นมีความสำคัญยิ่ง มีคนเชื่อและเล่าลือกันว่า หลวงพ่อหิน ซึ่งอยู่ในโบสถ์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากใครไปทำมิดี มิร้ายจะได้รับอันตรายทันตาเห็น จนถึงกับมีกรรมการวัดจัดสร้างเหรียญขึ้นมาเพื่อให้คนทั่วไปได้สักการะบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชากราบไหว้และเป็นเหรียญหนึ่งที่พวกวัยรุ่นทั้งหลายเชื่อมั่นในเรื่องพุทธคุณในความศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์หลายๆ อย่าง เพราะมีประสบการณ์ดีเด่นเชื่อถือได้

รอบโบสถ์จะมีใบเสมา 8 ใบ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง สำหรับด้านหน้านั้นเป็นด้านที่สำคัญมากอยู่ทางทิศตะวันออก จะมีซุ้มประตูและซุ้มเสมาซุ้มหนึ่ง ตอนบนของซุ้มจะสร้างเหมือนมณฑป หรือยอดเจดีย์ คนที่บวชเรียนหรืออุปสมบทจะต้องใช้เป็นที่วันทาเสมา ณ ซุ้มแห่งนี้ นี่แหละคือที่มาของพระกรุวัดซุ้มกอวัดทองแท่ง ซึ่งเป็นพระที่มีความดีเด่นในพุทธคุณและทำให้วัดทองแท่ง ซึ่งพระซุ้มกอดังกล่าวนี้ได้บรรจุไว้ตอนช่วงบนของยอดซุ้ม (คล้ายกับคอระฆังเจดีย์) ภายในซุ้มจะมีใบเสมาลึกลงไปจะเป็นลูกนิมิตรฝังรวมอยู่ใต้ล่างใบเสมา เมื่อประมาณ 50 ปีเศษ พระอาจารย์เภา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดทองแท่ง องค์ที่ 14 ได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการได้พบพระเครื่องเป็นจำนวน 1 บาตรพระ เรียกว่ามากพอดูทีเดียว มีลักษณะเล็กกะทัดรัดคล้ายพระซุ้มกอกำแพงเพชร ผู้สร้างได้จินตานาการแกะแม่พิมพ์เป็นภาพนูนต่ำ มีส่วนที่ผิดกันกับพระกำแพงเพชรตรงที่ไม่มีกนกข้างไม่มีประภามณฑล แต่มีเอกลักษณ์แห่งการตรัสรู้ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ปางตรัสรู้ (ประทับโคนต้นศรีมหาโพธิ์ต้นไม้ในพุทธประวัติ) มีใบโพธิ์เป็นเม็ดคล้ายไข่ปลาปกคลุมอยู่เหนือศีรษะ บางองค์ก็ไม่มีโพธิ์ เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงจัดมาก (ไม่ใช่เนื้อดิน) มีขนาดเท่ากับพระซุ้มกอพิมพ์เล็กของเมืองกำแพง นั่งสมาธิ มีซุ้มนูนคล้ายซุ้มครอบแก้วของพระวัดระฆัง การเปิดกรุครั้งนั้นเปิดก่อนกรุพระรอดวัดหนองมน พระกรุนี้มีผู้เล่าว่า ก่อนจะเปิดหรือก่อนจะพบพระอาจารย์เภาและมัคนายกได้ทำการก่อสร้างตบ แต่งกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ เห็นว่า พระดังกล่าวนี้น่าจะมีประโยชน์ในการก่อสร้าง จึงได้นำไปให้ประชาชนทั้งหลายเช่าในราคาองค์ละ 1 บาทเท่านัน ได้เงินมาเป็นจำนวนมาก และนำเงินนั้นมาก่อสร้างเช่น ซื้ออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ สร้างกำแพงแก้วจนสำเร็จ พระกรุนี้ใครเป็นผู้สร้าง ก็มีผู้รู้เล่าว่า ผู้สร้างพระกรุนี้คือพระอาจารย์หงิม และอาจารย์ปุ่น ซึ่งทั้งสองรูปที่กล่าวนี้เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท สร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาพระคุณที่หลวงพ่อได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้โดยที่อาจารย์ทั้งสองที่กล่าวข้างต้นเป็นชาวบางขันหมากโดยกำเนิดและได้บวชเป็นสามเณรอุปสมบทอยูที่วัดศรีสุทธาวาส หลวงปู่ศุขได้นำไปอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าเพื่อให้ร่ำเรียนวิชา คัมภีร์มูลกัจจายนะให้ทะลุปรุโปร่ง ท่องจำได้ขึ้นใจทุกตัวอักษรอย่างครบถ้วนถูกต้อง เมื่อเรียนวิชาต่างๆ จนสำเร็จแล้วทั้งสององค์กลับมาอยู่วัดสิงห์ทอง และวัดทองแท่ง อยู่คนละวัดกัน วิชาที่ทั้งสองเรียนมานั้นเรียนมาคนละอย่างเรียกว่า ศิษย์เอกทั้งสององค์นี้เก่งคนละทาง องค์หนึ่งเก่งในทางอาคม ไสยศาสตร์ เวทมนต์ อีกองค์หนึ่งเก่งในทางเป็นหมอแผนโบราณ เป็นผู้สร้างพระซุ้มกอกรุนี้บรรจุไว้ในซุ้มเสมาด้านหน้าโบสถ์ อาจารย์หงิม เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงห์ทองมาก่อน ท่านมีเรือโป๊ะไม้สักอย่างเก่าอยู่ 1 ลำ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ที่วัดทองแท่งในสภาพที่สมบูรณ์ทีเดียว

พิธีกรรมที่พระอาจารย์ทั้งสองช่วยกันสร้างขึ้นมานั้นจะต้องดีอย่างแน่นอน และจะต้องกระทำแบบเดียวกันกับที่อาจารย์ได้สั่งสอนมาหลวงปู่ศุขท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ศิษย์ ศิษย์ย่อมจะต้องทำให้ได้ใกล้เคียงกับพระอาจารย์ พระกรุวัดทองแท่งนี้บางคนไม่รู้จริงก็ยัดวัดยัดวาส่งเดชเป็นพระกรุอื่นไปก็มี ความจริงแล้วพระชนิดนี้เท่าที่รู้ และสืบทราบมาก็พบว่า มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ กรุวัดทองแท่งหนึ่งแห่ง และที่วัดศรีสุทธาวาสนี้พิมพ์จะออกเล็กนิดหนึ่ง เมื่อเรานำมาเปรียบเทียบกันดูจะรู้ทันทีว่า องค์ไหนเป็นวัดทองแท่งและองค์ไหนเป็นวัดศรีสุทธาวาส (ขนาดของท่านจะไม่เท่ากัน)

สำหรับพุทธคุณนั้น คงไม่แพ้พระกรุอื่นๆ อย่างแน่นอน ยังดีกว่าพระที่ยังไม่ได้เข้าพิธีปลุกเสกเสียอีก พระรอดหนองมนกับพระซุ้มกอวัดทองแท่งมีสนิมแดงคล้ายคลึงกัน มีชื่อเสียงเรียงนามเท่าๆ กัน สำหรับชาวลพบุรีแทบทุกหมู่เหล่านิยมสนใจใฝ่หากันเป็นอันมาก องค์สวยๆ งามๆ ราคาก็แพงพอสมควรทีเดียว ถ้าไม่สวยงามเลยก็ถูกหน่อย ปัจจุบันนี้รู้สึกว่า จะหาได้ค่อนข้างยากมาก คนที่มีไว้ในครอบครองก็หวงแหนไม่ยอมให้เช่าง่ายๆ

ในอดีตพระซุ้มกอกรุวัดทองแท่งนี้มีมาก มีคนสนใจเลื่อมใสศรัทธาไม่แพ้พระกรุอื่นๆ ทั่วไป ไม่มีการปลอมแปลงด้วยประการใดทั้งปวง พุทธลักษณะเล็กกะทัดรัดน่าใช้ เรื่องพุทธคุณนั้นไซร้ไม่ต้องโอ้อวด ใครมีไว้ประจำตัวดีแน่นอน ปัจจุบันพระซุ้มกอวัดทองแท่งหายากมาก มีคนทำปลอมกันอยู่เป็นประจำ แต่ก็ดูออก องค์สวยๆ งามๆ ราคาเป็นพันขึ้นไป ของไม่สวยไม่งามแล้ว แต่จะตกลงกัน พระกรุนี้นักนิยมพระเมืองลพบุรีทุกระดับชั้นรู้จักดี และมีความชื่อกันว่า เป็นพระที่มีพิธีกรรมการปลุกเสก และการสร้างดีเด่นทุกประการ ไม่แพ้พระบางกรุหรือบางอาจารย์เสียด้วยซ้ำไป อนาคตจะต้องเป็นพระที่มีทั้งคุณมีทั้งค่า มีความโด่งดังแม่แพ้พระซุ้มกอกรุอื่นๆ เป็นพระที่หายาก ของฟลุ๊ก อาจจะมีบ้าง แต่อาจจะนานหน่อย

ข้อระวัง ถ้าท่านอยากได้พระกรุนี้ แต่ท่านดูไม่เป็นเอาเสียเลย เวลาท่านจะเช่าไว้เพื่อสักการะบูชาหรือเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โปรดอย่าจ่ายสตางค์ก่อนนำเอาพระนั้นไปให้คนอื่นที่เขาดูพระเป็นดูเสียก่อนเมื่อแน่นอนแล้วค่อยจ่าย ท่านจะไม่ต้องได้รับความผิดหวัง ชาวลพบุรีจะดีใจและภูมิใจมากที่ท่านได้ของดีจากลพบุรีไปใช้ และอยู่ในครอบครองและจะเสียใจถ้าท่านได้ของปลอม (เก๊) ไว้ในครอบครองเช่นกัน

วัดทองแท่งนี้ในอดีตมีอาจารย์ผึ้ง (พระครูศิลวรคุณ) เป็นเจ้าคณะแขวง พระคุณเป็นอาจารย์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยของสงฆ์เป้นอย่างยิ่ง ในวัดจะมีม้าไว้เป็นพาหนะสำหรับเดินทางไปไหนมาไหน เพราะสมัยก่อนนี้จะเดินทางไปไหนมาไหน (ไม่มีรถเหมือนสมัยนี้) จะต้องอาศัยพาหนะอย่างอื่นหรือไม่ก็เดินด้วยเท้าและอาศัยลำน้ำเป็นหลักในการติดต่อธุรกิจต่างๆ การไปมาหาสู่กันถึงไม่สะดวกเท่าที่ควร ในปัจจุบันก็มีพระอาจารย์สมศักดิ์ นิลวณฺโณ เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดอยู่ นับว่า เป็นเจ้าอาวาสที่เอาใจใส่ต่อพระศาสนายิ่งรูปหนึ่งเป็น เพราะท่านเป็นพระนักพัฒนาทำให้วัดทองแท่งนี้ได้เจริญขึ้นมาก ประชาชนทุกชั้นให้ความเคารพนับถือพระคุณท่านเสมอมา วัดทองแท่งนี้ได้ถูกพัฒนาเรื่อยๆ โดยไม่หยุดยั้งและจะเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคนี้เป็นแน่

 เขียนความคิดเห็น
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :
Security Code :