Siam Talismans
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า

สถิติร้านค้า
เปิดร้าน06/10/2009
อัพเดท04/01/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 14/09/2009
สถิติเข้าชม272609
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  Bangkok 10110
โทร.  081 8419291
Mail  wiz_19@yahoo.com
Search      Go

Home > All Product List > ขาย Hands-Covered-Face Buddha สายวัดสะพานสูง


ขาย Hands-Covered-Face Buddha สายวัดสะพานสูง

รูปภาพประกอบทั้งหมด 4 รูป

ขาย Hands-Covered-Face Buddha สายวัดสะพานสูง

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  03/05/2014
แก้ไขล่าสุด  :  18/05/2017
ราคา  5,000 บาท

*รับประกันแท้100%ตามสากลนิยมเก้คืนเต็มไม่จำกัดเวลาครับ
*ทางเราจะออกบัตรรับประกันส่งทางอีเมลให้ท่านโดยมีรูปถ่ายหน้า - หลัง และข้อมูลการเช่าอย่างชัดเจน ต้องนำใบรับประกันมาด้วยทุกครั้ง
*รับประกันความพอใจ30วันถ้าเกินกำหนดหัก20%ครับ
*ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะพระที่อยู่ในสภาพเดิมที่บูชาไปเท่านั้น

ข้อมูลทั่วไป / Overview:
พระปิดตา
พระเครื่อง "ภควัม" หรือที่รู้จักกันในนามว่า พระปิดตาหรือพระปิดทวารนั้นโดยมากพระเครื่องชนิดนี้ในปัจจุบันไม่สู้จะมีคนรู้จักในอภินิหาริย์ความศักสิทธิ์อันประเสริฐเท่าใดนักเพียง แต่เข้าใจกันว่า พระปิดทวารเป็นพระมหาอุดเชื่อถือว่า เป็นพระเครื่องสำหรับใช้ติดตัวเพื่อออกศึกสงครามมีอานุภาพทางมหาอุดแคล้วคลาดเท่านั้นและเชื่อกันอย่างผิดๆ อีกว่าถ้าใช้ติดตัวเสมอจะทำให้อับโชคหาเงินทองไม่เข้า แต่แท้จริงแล้วพระคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง"ภควัม"ขึ้นล้วน แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิเศษมีความรู้เชี่ยวชาญบำเพ็ญเพียรปฎิบัติธรรมทางวิปัสนากรรมฐานทั้งสิ้นอย่างเช่นหลวงพ่อแก้ววัดเคลือวัลย์หลวงปู่จีนวัดท่าลาดหลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัว,หลวงปู่ไข่วัดเชิงเลน,หลวงปู่ภู่วัดนอก,หลวงปู่เจียมวัดกำแพง,หลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้,หลวงปู่จันวัดโมลี,หลวงปู่เกิดวัดบางเดื่อ,หลวงปู่ทับวัดทอง,หลวงปู่เอี่ยมวัดหนังและหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงเป็นต้นพระเครื่องชนิดนี้จึงมีพุทธานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในอิทธิปาฎิหาริย์มหัศจรรย์สุดมี่จะพรรณาและทำให้มีเสน่ห์เมตตามหานิยมมหาละลวยเป็นสิริมงคลบันดาลโชคลาภและป้องกันภัยพิบัติอันตรายทุกประการพระปิดทวารนั้นมีทั้งปิดทวารทั้งห้า(ปิดตาสองปิดจมูกสองและปิดปากหนึ่ง)ที่เรียกว่าพระปิดตาและแบบปิดทวารทั้งเก้า(ปิดตาสองปิดหูสองปิดจมูกสองปิดปากหนึ่งปิดทวารเบาหนึ่งและปิดทวารหนักหนึ่งรวมเป็นเก้า) ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันคือการสอนให้สังวรตา,หู,จมูก,ลิ้น,กายและใจผูใดสำรวมได้ไม่หวั่นไหวย่อมพ้นทุกข์ เชื่อกันว่า ผู้ใดบริกรรมด้วยพระคาถาหัวใจอิติปิโสΩΩอะ สังΩ วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ Ω บริกรรมร้อยแปดคาบจะปรารถนาสิ่งใดได้ทุกประการแล

ข้อมูลจำเพาะ / Specifications:
พระปิดตาวัดสะพานสูง ตั้งแค่ยุคปรมาจารแห่งสำนักหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ได้รับการยกย่องในด้านพุทธคุณเป็นเลิศ ตกทอดมาทุกรุ่นก็ยังสามารถสืบสานตำรับและผงพุทธคุณด้วยธรรมเนียมการสร้าง เสก และผสมผงอย่างแยบยลตลอดทั้งพระปิดตาหลวงปู่กลิ่น มาจนของหลวงพ่อทองสุข จึงได้รับความนิยมลดหลั่นกันไปตามความหายาก แต่พุทธคุณเชื่อกันว่า มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันหลังจากที่หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพไปแล้ว หลวงปู่กลิ่น ก็รับสืบทอดวิชาและตำรับการสร้างพระปิดตามาจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้สร้างพระปิดตาออกในลักษณะเดียวกันกับของหลวงปู่เอี่ยม ผู้เป็นอาจารย์ของท่านสำหรับผู้ที่เป็นลูกมือคนสำคัญของหลวงปู่กลิ่นก็คือ “หลวงพ่อทองสุข” ซึ่งคลุกคลีเอาใจใส่ ปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิด ร่ำเรียนวิชาการตำรับตำราและได้รับการถ่ายทอดวิชาสืบ ต่อมาจากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้นโดยเฉพาะวิชาการสร้างผงฯ พระปิดตาของวัดสะพานสูง หลวงปู่กลิ่นได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อทองสุข จนหมดสิ้น ถือได้ว่า หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ได้รับการถ่ายทอดเป็นองค์สุดท้ายของวัดสะพานสูงนอกจากการสืบทอดวิชาการเสกผงฯ และสร้างพระปิดตาที่สืบทอกกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ยังมีธรรมเนียมประจำสำนักที่สำคัญอันหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัดตั้ง แต่สมัยที่หลวงปู่เอี่ยมยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ธรรมเนียมดังกล่างคือ ทุกคราวที่มีการเสกผงฯ เพื่อสร้างพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะแบ่งผงฯทั้งหมดออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ครึ่งหนึ่งจะใช้สร้างพระปิดตาในคราวนั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะเก็บไว้สำหรับการสร้างครั้งต่อไปเมื่อจะสร้างพระปิดตาขึ้นใหม่ ท่านก็จะเสกผงฯขึ้นใหม่แล้วผสมผงฯเก่าที่เก็บไว้ทั้งหมดลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วก็แบ่งเป็นสองส่วนเช่นเดิม เก็บไว้สำหรับสร้างพระปิดตาในครั้งต่อไปอีกสืบเนื่องกันมาแบบนี้ทุกครั้งจนถึงยุคของหลวงพ่อทองสุข ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผงฯที่ใช้สร้างพระปิดตาของสำนักวัดสะพานสูง มีพุทธคุณเท่าเทียมกัน จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในแง่ของวิชาคาถาอาคม และผงฯที่ใช้สร้างกันเลยทีเดียวหลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) ชื่อเดิมของท่านก็คือ “ทองสุข” ถือกำเนิดในสกุล บุญมี โยมบิดาชื่อ นายคง โยมมารดาชื่อ นางแพ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2446 ณ ตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมสายเลือด 5 คนและบวช ที่วัดนาพรหม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 ตอนนั้นอายุยังแค่ 24 ปี อุปสมบทแล้วจึงไปจำพรรษา ณ วัดหนองหว้า ได้ 1 พรรษา ท่านก็ออกปฏิบัติธุดงควัตรจนพบกับอาจารย์เพ็ง คนอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้คบกันเป็น “สหายธรรม” หรือ “สหธรรมิก” ชักชวนกันไปจำพรรษาอยู่ที่นนทบุรี ณ วัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ระหว่างนั้น ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี แห่งวัดสะพานสูง ได้ไปมาหาสู่ท่านบ่อยๆ ในที่สุดจึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์คอยปรนิบัติรับใช้ท่านและหลวงปู่กลิ่น ท่านก็เมตตา ถ่ายทอดวิชาอาคมตลอดจนการปฏิบัติธรรม ระหว่างจำพรรษาอยู่ วัดสะพานสูง หลวงพ่อทองสุข เข้าสอบสนามหลวงผ่านเปรียญธรรมถึงขั้น นักธรรมเอก ทำให้ หลวงปู่กลิ่น รู้สึกพอใจความอุตสาหะของท่านมาก ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจาก หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี ละสังขาร “หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ได้รับการ แต่งตั้งให้รักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ก่อนในช่วงระยะเวลาประมาณปีกว่า ดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้รับการ แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูง และ พระครูนนทกิจโสภณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2501นอกจากนั้นยังได้เป็นเจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ ในบั้นปลายชีวิตบรรพชิต หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร อาพาธอยู่หลายวัน แล้วจึงถึง แต่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2525 เวลา 08.00 น. ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 79 ปี 19 วัน 55 พรรษา

 เขียนความคิดเห็น
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :
Security Code :